วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วาระภูเก็ต





นาย ชวนะ เกียรติชวนะเสวี น.บ.
รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต

กำลัง ศึกษาปริญญาเอก สาขารัฐศาสตร์ (สาขาวิชาการเมืองรุ่น 1) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
   ผมตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นกับจังหวัดภูเก็ตในอนาคต ไม่ใช่แค่วันนี้ แต่หมายถึงวันพรุ่งนี้และวันต่อๆไป เราได้ล้มลุกคลุกคลานกันมาหลายยุคหลายสมัย ภูเก็ตในยุคทองของการทำเหมืองแร่ดีบุก เราเปิดตัวเองให้กับต่างชาติหลั่งไหลเข้าทำธุรกิจกับเรา เข้ามาลงทุน ซึ่งศักยภาพของเกาะเล็กที่มีประชากรไม่มากหนัก ได้ถูกจัดให้เป็นเมืองท่าเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
  การผันแปรของยุคสมัยนำภูเก็ตสู่ม่านสายตาของชาวโลก เรายังมีดีมากกว่านั้น ไม่ใช่มีแค่ธุรกิจแร่ดีบุก เมื่อหมดยุคทองของการค้ากับต่างชาติ เราก็ยังยืนหยัดและยังสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล ให้กับประเทศในยุคทองของการท่องเที่ยว ภูเก็ตสามารถประกาศต่อคนทั้งโลกได้อย่างภาคภูมิว่าเราคือ ดินแดนแห่งไขมุกอันดามัน รายได้หลักจากการท่องเที่ยวมากกว่าปีละ 75,000 พันล้านบาท ที่ส่งเข้าประเทศเป็นอันดับ 1 ใน 4 รายได้หลักของประเทศ ก่อนเกิดพิบัติภัยทางธรรมชาติ สึนามิ นั้นถือเป็นบทเรียนราคาอันแสนแพง ของคนทั้งโลกเลยทีเดียว ผ่านไปแล้วกว่า 3 ปีกับความบอบซ้ำที่ถูกภัยธรรมชาติให้บทเรียน วันนี้เราได้อะไรจากบทเรียนนั้น
   แล้วอนาคตอันใกล้จะเกิดอะไรขึ้นอีก ความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่กำลังจะเกิดขึ้น เราชาวภูเก็ตทุกคนจะได้อะไร เราต้องสูญเสียอะไรบ้าง ภูเก็ตแห่งทศวรรษใหม่จะเป็นอย่างไร ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของเราจะยังคงอยู่ต่อไป ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นตามมา วาระภูเก็ต ถือเป็นวาระอันสำคัญกับเราชาวภูเก็ตทุกคน ถือเป็นยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนาที่เราชาวภูเก็ตทุกคนต้องร่วมกันคิดและร่วมกันผลักดัน ให้ยุทธศาสตร์นี้เป็นแผนแห่งการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตสู่ความเปลี่ยนแปลงความใหม่ เพื่อเราทุกคน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น วันนี้ไม่ใช่แค่เพียงผมเท่านั้นที่กำลังจับจ้องถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ แต่ผมกำลังจะบอกกับชาวภูเก็ตทุกคนว่า ความเปลี่ยนแปลงความใหม่ที่เราต้องเผชิญคือความท่าท้ายครั้งสำคัญ วันนี้ผมเพียงแค่ริเริ่มคิดและกำหนดทิศทางในเบื้องต้น ยุทธศาสตร์ทั้งหมดจะต้องผ่านความเห็นชอบจากชาวภูเก็ต และเราชาวภูเก็ตเท่านั้นคือผู้กำหนดอนาคตของเราเอง การมีส่วนร่วมของของชาวภูเก็ตทุกคนจะเป็นพลังสำคัญที่จะผลักดัน และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นี้ไปสู่ความสำเร็จด้วยกัน เราจะร่วมกันกำหนดทิศทางอนาคตของเราทุกคนด้วยกัน วาระภูเก็ตจึงเป็นวาระอันสำคัญอย่างยิ่งของเราชาวภูเก็ต เพราะนั้นคือยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนาที่เราทุกคนร่วมกันกำหนดอนาคตของเราเอง “ วาระภูเก็ต วาระของเราทุกคน ” ด้วยสำนึกรักบ้านเกิด"
ผมรักบ้านเกิด
ชวนะ เกียรติชวนะเสวี
ธันวาคม 2550

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555


วาระภูเก็ตด้านโครงสร้างขั้นพื้นฐาน
  ครับก็เข้าสู่วาระสุดท้าย ของวาระภูเก็ตแล้ว มีคนตั้งคำถามผมก่อนที่จะเขียนวาระภูเก็ต ว่าทำไหมถึงอยากตั้งวาระภูเก็ตเป็นวาระเร่งด่วนที่จะต้องทำ ผมก็เลยตอบกลับไปว่าที่ผมต้องตั้งวาระภูเก็ตเป็นวาระที่สำคัญ เพราะหากวันนี้ เราอยากเห็นภูเก็ตพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต เราคงจะต้องร่วมกันจัดตั้งยุทธศาสตร์ ที่สำคัญร่วมกันและมียุทธศาสตร์ใดบ้างที่จะต้องวางกลยุทธให้สอดรับ และสอดคล้องกับนโยบายที่รัฐบาลจะกำหนดขึ้น ทั้งนี้เราคงต้องมองศักยภาพของตัวเอง*เสียก่อนว่า (หมายถึงภูเก็ต) ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับจังหวัดเราบ้างในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้ต้องมองไปสู่รัฐธรรมนูญปี 50 ที่กำหนดให้รัฐฯจะต้องเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ และประชาชนต้องมีส่วนร่วมในขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญ ผมเพียงเป็นผู้หนึ่งที่บอกความจริงกับประชาชนว่าเราต้องรู้อะไรบ้าง และอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับเรา อะไรมีผลได้ผมเสียกับอนาคตของเรา ใครคือผู้กระทำอะไรกับเราบ้าง และเราจะได้อะไรจากการลงทุนร่วมกันในครั้งนี้ นั้นหมายถึงอนาคตไม่ใช่หรือ คงไม่ใช่อนาคตแล้วแต่เป็นวันนี้ เพราะวันนี้ภูเก็ตกำลังก้าวเดินสู่ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ที่เรียกว่ายุคทองแห่งการเปลี่ยนผ่านจากเมืองท่องเที่ยว สู่เมืองท่าเศรษฐกิจสำคัญของโลกยุคใหม่ นี้คือเหตุทั้งหมดของวาระภูเก็ต ซึ่งจะเป็นวาระและยุทธศาสตร์ที่สำคัญของคนภูเก็ต ที่เราจำต้องรู้และทราบถึงควาเปลี่ยนแปลงนั้นร่วมกัน ครับเข้าสู่วาระภูเก็ตด้านโครงสร้างขั้นพื้นฐาน ครับโครงสร้างขั้นพื้นฐานนั้น ต้องยอมรับว่าเป็นยุทธศาสตร์หลักของการพัฒนาเมืองทั้งเมือง ถ้าระบบโครงสร้างด้านต่างไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนานักลงทุน คงไม่กล้าเข้ามลงทุน และไม่เห็นถึงศักยภาพของจังหวัดนั้นๆแต่ทั้งนี้จังหวัดภูเก็ตการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานนั้น ได้ถูกพัฒนาไปในทิศทางที่ควรจะเป็นแล้ว แต่ยังขาดการสนับสนุน ในบางเรื่องและจะต้องมีการมองข้ามไป สู่อนาคตด้วยว่า น่าจะมีการพัฒนาเพิ่มในส่วนใดบ้างและจะมีส่วนใดบ้างที่จะมีส่วนสำคัญ

       ในการพัฒนาให้สอดคล้องต่อการลงทุน ผมคงจะแยกผมคงจะแยกการพัฒนาออกไปในหลายทิศทางในส่วนแรกคงจะเป็นในส่วนของ โครงสร้างหลัก เช่นไฟฟ้า น้ำอุปโภคบริโภค การสื่อสาร และขนส่งมวลชนสาธารณะ มามองกันส่วนแรกันก่อน ในเรื่องของไฟฟ้านั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า ปัจจัยของการพัฒนานั้นประกอบด้วยสาระด้านใดบ้างในส่วนนี้ เรื่องของไฟฟ้า ต้องยอมรับว่าปัญหาด้านนี้ประสบบ่อยมาก คือไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับบ่อย อาจจะเป็นเพราะเหตุด้านอื่นประกอบด้วย แต่คงต้องมองถึงปัญหาการขยายตัวเชิงธุรกิจ และพาณิชย์ด้านต่างๆ รวมไปถึงด้านอสังหาริมทรัพย์มีการใช้ไฟฟ้าเกินกำลังส่ง เรารับกระแสไฟฟ้าตรงมาจากเขื่อนเชียวหลาน จ.สุราษฏ์ธานี ทั้งนี้ในปัจจุบันมีความต้องการใช้ไฟฟ้าในทุกครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น ทั้งประกอบด้วยอัตราการขยายตัวของภาคประชาชน ที่มีอัตราการขยายตัวที่รวดเร็ว ไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ เราจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร ผมคงจะต้องมองไปถึง เรื่องของจังหวัดสุราษฏ์
ในความร่วมมือกันทั้งในด้านของกระแสไฟฟ้า และน้ำอุปโภคบริโภค คงจะต้องมีการสำรวจแนวทางการเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าและวางระบบการจ่ายไฟฟ้าใหม่ทั้งโครงสร้าง เพื่อให้มีไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการ ทั้งเชิงพาณิชย์การลงทุน อุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน ในส่วนของน้ำก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่สำคัญเคยมีการวางแผน ที่จะผันน้ำและวางท่องส่งน้ำจากเขื่อนเชี่ยวหลาน มายังจังหวัดภูเก็ต และอ่างเก็บน้ำบางแห่งของจังหวัดพังงา นี่คงเป็นอีก 1ช่องทางที่จะสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้าง ของจังหวัดภูเก็ตในระยะอันใกล้ ในส่วนของระบบการสื่อสาร คงจะต้องจัดวางระบบให้ทันสมัยและรวดเร็วสามารถเชื่อมต่อการสื่อสารในทุกระบบ คงต้องมองไปถึงโครงการภูเก็ตเมืองไอที

     ในอนาคตอาจจะมีการนำระบบใยแก้วนำแสงเข้ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบ และการจัดวางสายไฟ
และสายโทรศัพท์ลงสู่ใต้ดินเพื่อความสวยงามของบ้านเมือง ทั้งนี้นี้คือภาพของอนาคตและความเปลี่ยนที่อาจจะเกิดขึ้น ในส่วนของเทคโนโลยีที่จะถูกนำมาใช้ในส่วนของโครงการ MICE และศูนย์ประชุมนานาชาติ คงจะต้องมีการจัดระบบ การสื่อสาร และเทคโนโลยีสาระสนเทศ กันใหม่ทั้งโครงสร้าง เพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาในโครงการแม็กโปรแจ็คในอนาคต ในส่วนของโครงสร้างด้านขนส่ง ในอนาคตการขนส่งเชิงพาณิชย์อาจจะมีการนำระบบ โลว์จิสติกส์ มาใช้ในเชิงการขนส่งสินค้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วและความทันสมัย และจะต้องมีการขยายสนามบินรองรับการขยายตัว เชิงพาณิชย์ที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ทั้งในระบบขนส่งมวลชน ในจังหวัดภูเก็ตมีแค่การพัฒนาในขั้นต้น จำต้องมีการวางแผนเพื่อต่อยอด เช่นการศึกษาความเป็นไปได้ ที่จะนำรถไฟฟ้ามาใช้ในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง รวมไปถึงรถไฟรางเบา รอบเกาะนี้ก็อยู่ในระหว่างการศึกษาถึงผลกระทบในทุกด้านทั้งนี้คงต้องดูถึงความเหมาะสม ที่จะเกิดโครงการเหล่านี้ และต้องดูถึงภาพรวมในเชิงพาณิชย์ และการรองรับการขยายตัว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการศึกษาผลกระทบต้องบอกเหตุผลและให้ประชาชนชาวภูเก็ต กำหนดจุดยืนและร่วมกำหนดอนาคตร่วมกัน การทำประชาพิจารณ์จะเป็น อีกขั้นตอนหนึ่ง
ที่จะต้องถูกนำมาใช้ ในส่วนของระบบจราจรภายในเมืองหรือศูนย์กลาง อาจจะต้องมองไปถึงการทำอุโมงค์ลอดสี่แยกสำคัญ หรือแม้แต่การทำทางด่วนในอนาคต นี้คงจะต้องสนับสนุนการศึกษาถึงความเป็นไปได้ต่อไป

               ผมคิดว่าทั้งหมดนี้คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะต้องมีการแผนอย่างรอบคอบ และผมมองว่าอนาคตภูเก็ตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน แต่จะเป็นไปในทิศทางไหนนั้นเราชาวภูเก็ตเท่านั้นคือผู้กำหนด การกำหนดอนาคตก็คือการกำหนดเป้าหมายที่เราจะก้าวเดินไป การพัฒนาด้านต่างๆนั้นคือเส้นทางของความเจริญในทุกด้าน เราอาจจะต้องสูญเสียบางสิ่งบางอย่างไป เพื่อให้ได้อีกสิ่งหนึ่งกลับคืนมา ผมไม่ได้สนับสนุนถึงความเปลี่ยนแปลงนั้น แต่ผมกำลังบ่งบอกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นและร่วมกันตัดสินใจ ว่าเราจะอยู่ตรงที่เดิมต่อไป หรือเลือกที่จะก้าวเดินไปสู่สิ่งใหม่ที่มีความท้าทาย แต่ทั้งนี้ทั้งไม่ใช่ผมเพียงผู้เดียวที่จะตัดสินใจในครั้งนี้ หมายถึงเราชาวภูเก็ตทุกคน เราต้องเลือกอนาคตของเราด้วยกัน ผมเพียงแต่นำความจริงที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้มาถ่ายทอดและเล่าสู่กันฟัง อย่างน้อยๆแล้วทุกคนจะได้รับทราบข้อมูลความเป็นจริง และความเป็นจริงอีกด้านหนึ่ง การเตรียมความพร้อมเป็นสิ่งสำคัญ หากเราเลือกที่จะเดินไปข้างหน้า เราคงจะต้องตั้งรับและเตรียมความอย่างดีในทุกด้าน แต่หากวันนี้เราเลือกที่จะอยู่ตรงนี้อยู่ที่เดิม ผมและทุกคนจะต้องร่วมกันทำวันนี้ให้ภูเก็ตคงเดิมมีความสวยงามเช่นเดิม รักษาภูเก็ตไว้ให้อยู่คู่ลูกหลานของเราต่อไป ความมั่นคงมั่งคั่งในบางครั้งก็มาพร้อมความสูญเสีย แต่หากจะมองในเชิงธุรกิจ เราจะเป็นเมืองท่าเศรษฐกิจที่สำคัญ ก็คงเป็นเหมือนยุคผ่านอีกยุคหนึ่ง ที่มาถึงในยุคของเรา เป็นเหมือนยุคหนึ่งที่เราเปลี่ยนผ่าน จากการทำการค้าแร่ดีบุกกับต่างชาติ สู่เมืองแห่งการท่องเที่ยว สู่ม่านสายตาของชาวโลก และวันนี้ก็เป็นเหมือนเช่นดั่งวันนั้น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าวาระภูเก็ตจะถูกนำไปใช้ เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ของเรา นี้คือสัญญาณที่เราร้องขอ และต่อรองกับนักลงทุนและรัฐบาล หากต้องการให้เราเปลี่ยนแปลง ต้องเตรียมความพร้อมให้กับเราด้วย วาระภูเก็ต......วาระแห่งการพัฒนากับ 7 ยุทธศาสตร์ สู่ เมืองท่าเศรษฐกิจ นี้คือวาระของเรา ผมรักบ้านเกิด ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเห็นภูเก็ตพัฒนาไปในทิศทางที่เหมาะสม นำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืน เราจะก้าวเดินสู่อนาคตร่วมกัน


วาระภูเก็ตด้านการลงทุน

   เชื่อเถอะครับว่า การลงทุนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ในระยะเวลา 2-5 ปีข้างหน้าจะเป็นไปในทิศทางก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว จากสถิติที่เห็นได้ว่า การลงทุนในรูปแบบของจังหวัดภูเก็ต ประสบผลสำเร็จเป้นอย่างดี จากการเฝ้าติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ยังมองเห็นว่า ถึงแม้โครงสร้างด้านเศรษฐกิจของประเทศในระยะเวลาที่ผ่านมา 3-4ปี ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจ จากการวางนโยบายที่ผิดของรัฐฯชุดก่อนก่อเกิดปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จากนโยบาย ทักษิโนมิค สู่ เศรษฐกิจพอเพียง การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจในแต่ละครั้งเกือบไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรกับโครงสร้างเศรษฐกิจ ของจังหวัดภูเก็ต ถามว่าทำไหมผมต้องกำหนด การลงทุนเป็นอีก 1 วาระที่สำคัญ เพราะวาระนี้จะเป็นวาระสำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต และความเปลี่ยนแปลงของชุมชนทั้ง 2 ด้าน ทั้งในด้านบวก และในด้านลบ เราคงต้องมองถึงโครงสร้างในอนาคต ว่าจังหวัดภูเก็ต มีความจำเป็นต้องมีการลงทุนในส่วนใดบ้าง และต้องมองว่าส่วนไหนที่ต้องเปิดโอกาสให้นักลงทุนรายใหญ่เข้าไปลงทุน หรือส่วนไหนที่อปท.มีกำลังพอใน การเข้าไปดำเนิน โครงการจัดการ หรืออาจมองไปถึงการร่วมทุน ที่อาจจะต้องใช้ พรบ.ร่วมทุนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในปัจจุบันมีการตั้งโครงการต่างๆเอาไว้มากมาย แต่ยังมองไม่เห็นถึงแนวทางการพัฒนาหรือลงทุน แต่ที่มองเห็นภาพรวมชัดเจนคงจะเป็นในส่วนของ มารีน่า และอสังหาริมทรัพย์ ที่มีทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติแห่เข้ามาลงทุน ในจังหวัดภูเก็ตเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ดังนั้นวาระนี้จึงต้องถูกกำหนดขึ้น โดยเราชาวภูเก็ต เอง เราคงจะต้องมากำหนดพื้นที่ในการลงทุน หรือตรงส่วนไหนบ้างที่มีความเหมาะสมที่จะเปิดพื้นที่ให้นักลงทุนเข้ามาลงทุน หรือในพื้นที่ส่วนใดไม่มีควรมีการเข้าที่ลงทุนหรือพัฒนาเพื่ออนุรักษ์ ไว้ซึ่งวิถีชุมชน และวิถีชีวิต ของชาวภูเก็ต หรือในส่วนใดที่ อปท.ต้องเข้าไปเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาและร่วมทุนโดยใช้ พรบ.ร่วมทุน
     ผมพอที่จะมองโครงการควรที่จะมีการลงทุนและพัฒนาไว้ในหลายโครงการ อธิเช่น รถไฟรางเบารอบเกาะภูเก็ต เพื่อยกระดับเมืองท่องเที่ยว และยกระดับเมืองนานาชาติ เป็นโครงการหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นโดยการร่วมทุนของรัฐและเอกชน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่เกาะภูเก็ตและลดการเกิดอุบัติเหตุที่มีมากขึ้นทุกปี ทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณมากในการเข้ามาดูแลและแก้ไขปัญหานี้ โครงการ โครงการนี้ก็เป็นอีกโครงการหนึ่ง ที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และมีการเปิดเผยรายละเอียดโครงการอย่างชัดเจนโดยในทุกขั้นตอน รัฐฯเป็นหน้าที่ ที่รัฐต้องเปิดเผยทุกรายละเอียดไม่มีการปกปิดหรือแอบแผงโครงการ เช่นบ่อนกาสิโน ที่จะมาในรูปแบบเอ็นเตอร์เทนเม้นคอมแพล็กซ์ จะต้องมีการทำประชาพิจารณ์ และได้รับการยอมรับจากภูเก็ต เพื่อร่วมตรวจสอบโครงการ เชื่อว่าโครงการนี้น่าจะเป็นโครงการหนึ่งที่รัฐฯเปิดโอกาสให้ เอกชนเข้าไปร่วมลงทุน หรือเอกชนอาจจะเป็นผู้ดำเนินโครงการทั้งหมด โครงการภูเก็ตเมืองช้อปปิ้งนานาชาติ หรือตลาดดิ้วตี้ฟรี่โครงการนี้เป็นโครงการอีกโครงการหนึ่งที่มีความน่าสนใจอย่างมากและมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิด โดยเฉพาะ ทำเลทองบน ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 บริเวณแยกโลตัส ถึง แยกไทนาน มีการพัฒนาพื้นที่ไปแล้วเกือบ 50%เพื่อจะเปิดเป็นศูนย์การค้าต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เปิดให้บริการ 4 แห่ง และมีห้างในรูปแบบโมเดิร์นเทรดเปิดให้บริการอีก4 แห่ง และในอนาคต เชื่อว่าน่าจะมีมากว่า 3 ห้างสรรพสินค้าที่รอเปิดให้บริการในระยะเวลาอีกน้อยกว่า 3 ปีข้างหน้า หากมีการกำหนดแผนพัฒนา ให้บริเวณแถบนี้เป็ศูนย์กลางทางการค้า ในลักษณะดิวตี้ฟรีโซน และเป็นศูนย์กลางแหล่งช้อปปิ้งของนักท่องเที่ยว จะเป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้กับจังหวัดภูเก็ต และยังเป็นการต่อยอดเมืองท่องเที่ยวนานาชาติในลักษณะครบวงจรอีกด้วย ในโครงการเหล่านี้ถือเป็นโครงการแม็กโปรแจ็ค ที่ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนที่สูง ที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และชาวภูเก็ตต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคต ของการลงทุนและพัฒนาโครงการเหล่านี้ด้วย 

   ในส่วนของโครงการที่ควรให้การสนับสนุนต่อเนื่อง เช่นโครงการอาหารฮาลาล สู่ ฮาลาลโลก ควรมีการผลักดัน และให้การสนับสนุนต่อเนื่องเพราะเป็นโครงการต่อยอด ทางการค้าทั้งยังเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เปิดตลาดใหม่ในกลุ่มตะวันออกกลาง และประเทศเพื่อนบ้าน ในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปส่งออก อีกทั้งอาหารฮาลาล ของชาวภูเก็ตเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย สร้างรายได้ให้กับจังหวัดภูเก็ตอีกทางหนึ่ง ในส่วนของอาหารทะเลแปรรูป 
   ในปัจจุบันชาวประมงได้รับผลกระทบจากพิษราคาน้ำมันแพงส่งผลให้การทำประมงประสบปัญหากับราคาต้นทุนที่สูงขึ้น และประสบกับสภาวะขาดทุน ดังนั้นควรที่จะมีการส่งเสริมให้มีการแปรรูปอาหารทะเล ควบคูไปกับ อาหารฮาลาล และส่งออกไปขายยังประเทศเพื่อนบ้านและภายในประเทศ โดยรัฐฯควรมีการจัดตั้ง คณะกรรมการเข้ามากำกับดูแล เช่น รัฐบาล ให้การสนับสนุนงบประมาณ กรมการส่งเสริมธุรกิจการค้า กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า เข้ามาดูแลและให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการ กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการโดยตรงและทำตลาดประชาสัมพันธ์ อปท.เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนโครงการ และแนะนำผลิตภัณ์ นี้คืออนาคตที่เราควรกำหนดเป้าหมายไว้ร่วมกัน และนี้จึงเป็นวาระภูเก็ตอีกวาระหนึ่ง ที่เราชาวภูเก็ตต้องร่วมกันกำหนด


วาระภูเก็ตด้านสิ่งแวดล้อม

       ครับเข้าสู่วาระภูเก็ตอีกวาระหนึ่ง ที่มีความจำเป็นที่จะต้องประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน และแสดงถึงพลังในการร่วมกันปกป้องทรัพยากรที่เรามีอยู่อย่างน้อยนิด ในเวลาปัจจุบันที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่รู้เท่าทัน จังหวัดภูเก็ตมีประชากรกว่า 200,000 คน และมีอัตราประชากรแฝงอีกกว่า 150,000 คน ทั้งแรงงานอพยพ และแรงงานต่างด้าว ที่ขึ้นทะเบียนแล้วกว่า 30,000 คน ที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนและหลบหนีเข้าเมืองอีกกว่า 20,000 คน เรามีพื้นที่อยู่อาศัยที่เหลืออยู่อย่างจำกัด การเจริญโตเติบของชุมชนเมืองได้แผ่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ป่าไม้ถูกทำลาย ป่าชายเลนถูกลุกล่ำ เราคงต้องกลับมาทำความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิดร่วมกัน ให้คนรุ่นใหม่ใส่ใจกับสภาพแวดล้อม และทรัพยากรที่เรามีอยู่อย่างจำกัด ทั้งยังต้องเร่งสร้างทรัพยากรบุคคลเพิ่มขึ้น เพื่อเข้ามาผลักดันและพัฒนา คุณภาพของสิ่งแวดล้อม ผมพอจะแยกทรัพยากรที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาและคงวามเป็นอยู่ ของชุมชนของคนภูเก็ตได้ในหลายส่วนทั้งมีความจำเป็นที่จะต้องมองไปสู่แนวทางการรักษาและอนุรักษ์ ทรัพยากรเหล่านั้นให้คงอยู่คู่ชาวภูเก็ตต่อไป
      ในส่วนแรกคงจะต้องกล่าวไปถึงในส่วนของ ทรัพยากรทางทะเล ที่มีส่วนสำคัญต่อการประกอบอาชีพ และเศรษฐกิจหลักของคนภูเก็ต ทั้งในส่วนของการนำเที่ยว และการประมง เราคงต้องไปมองในด้านแรกก่อน คือธุรกิจบริการหรือการนำเที่ยว การนำเที่ยวทางทะเลของจังหวัดต้องยอมรับว่าเป็นธุรกิจนำเที่ยวอีกด้านหนึ่งที่สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้กับผู้ประกอบการด้านนี้ เรามีเกาะแก่งมากมายรายล้อมจังหวัดภูเก็ต เรามีแหล่งดำน้ำที่สวยงามที่นักเที่ยวรู้จักและให้ความสำคัญ แต่ทั้งนี้นับวันธุรกิจด้านนี้ยิ่งได้รับผลกระทบอย่างมาก เกิดอะไรขึ้นกับเรื่องนี้ ถ้าจะมองแบบผ่าน คงต้องบอกว่า นักท่องเที่ยวคงเบื่อ หรือผู้ประกอบการขาดความสนใจนักท่องเที่ยว แต่หากจะมองแบบหวังอนาคตเราคงต้องย้อนกลับมาสู่เราเอง เพราะวันนี้มีการลับลอบตัดปะการังขายกัน มีการทำอ้วนรุน บริเวณแนวปะการัง มีการทิ้งขยะลงไปในทะเล เรือนำเที่ยวปล่อยของเสียลงสู่ทะเล และคราบน้ำมันที่ทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยว ทั้งยังมีการลับลอบจับปลาสวยงาม เพื่อจำหน่ายให้กับนายทุน นี้คือปัญหาใหญ่ที่กำลังทำลายทรัพยากรทางทะเลของเรา ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องตระหนักในเรื่องนี้และหาแนวทางร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านี้ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราทุกคนต้องร่วมกันปกป้องทรัพยากรของเรา ทั้งผู้ประกอบการเอง และนักท่องเที่ยว ต้องยุติการทำลายสิ่งแวดล้อมทั้งในทางตรงและทางอ้อม ถึงเวลาหรือยังที่จำต้องมีการออกมาตรการ เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติที่ถูกทำลาย เราสามารถที่จะเพาะปะการังได้สำเร็จแล้ว ถึงเวลาแล้วที่จะคืนปะการังสู่ทะเลอีกครั้ง ถึงเวลาแล้วที่จะคืนปลาสวยงามกลับคืนสู่อ้อมกอดของเกลียวคลื่นอีกครั้ง นี้คือสิ่งที่เราต้องทำ และต้องบอกกับลูกหลานของเราว่า น้ำคือชีวิต ป่าคือชีวิต นี้คือมรดกอันยิ่งใหญ่ที่เราทุกคนจะต้องปกปักรักษาและถ่ายทอดมรดกนี้ไปสู่ลูกหลานของเราชาวภูเก็ตต่อไป
      ในส่วนของทรัพยากรชายฝั่ง ทั้งในส่วนของป่าชายเลน และการประมงชายฝั่ง นับวันการทำประมงชายฝั่งได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนมากขึ้น อันสืบเนื่องจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลง อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ เกิดสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิร้อนขึ้น สัตว์ทะเลไม่วางไข่ตามฤดูกาล ทั้งฤดูกาลเปลี่ยนแปลง ฤดูร้อนเร็วขึ้น ฤดูฝนน้อยลง หรืออาจจะมากขึ้น และเมื่อไม่นานมานี้ถ้าจำได้ เมื่อปลายปี 2548 เกิดภัยพิบัติครั้งสำคัญ คลื่นยักษ์สึนามิ พัดเข้าถล่มชายฝั่งอันดามัน และจังหวัดในแถบทะเลอันดามัน แต่สิ่งที่น่าแปลกใจได้เกิดขึ้น แนวเขตทะเลชายฝั่งที่มีแนวป่าชายเลนเกือบไม่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ครั้งนั้น เนื่องจากป่าชายเลนสามารถลดแรงปะทะของแนวคลื่นได้ และลดความรุนแรงของคลื่นลงได้ นี้คือสิ่งที่เราต้องตระหนัก ปัจจุบันมีการลุกล่ำพื้นที่ป่าชายเลนมากขึ้น อันเกิดจากการขยายตัวของชุมชนเมืองที่มีอัตราประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ป่าชายเลนในจังวัดภูเก็ตลดลงต่อเนื่อง การลุกล่ำป่าชายเลนยังส่งผลต่อระบบชีววิทยา และระบบนิเวศน์ชายฝั่ง ยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเลน้ำตื้น ที่ใช้ป่าชายเลนเป็นพื้นที่ฝักไข่และวางไข่ เมื่อป่าชายเลนถูกทำลายสัตว์น้ำชายฝั่งก็จะถูกทำลายไปด้วย การประกอบอาชีพประมงชายฝั่งย่อมได้รับผลกระทบในทันที ทั้งยังมีการลักลอบทำอ้วนลุนบริเวณชายฝั่งด้วย เราคงต้องตระนักถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และหามาตรการรองรับ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือการหาเหตุและผลของปัญหาเหล่านี้จัดการปัญหาอย่างเข้าใจ และรู้จริง อาจจะมีการเพิ่มอัตราการขยายพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น เพื่อจัดการระบบนิเวศน์ชายฝั่ง และมีการจำกัดพื้นที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน มีการควบคุมดูแลกันเองภายในชุมชน และต้องสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับชุมชนนั้น ต่อความสำคัญของทรัพยากรชายฝั่งที่เรามี เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันป้องกันและรักษาทรัพยากรทางทะเลที่เรามีอยู่อย่างจำกัดให้คงอยู่คู่กับเราชาวภูเก็ตต่อไป
      นั้นคือวาระของเรา ในส่วนของทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอีกอย่างคือป่าต้นน้ำ เช่น ป่าเขาพระแทว ป่าบริเวณเทือกเขากะทู้ ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำของเราชาวภูเก็ตเขาพระแทวเป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำสำคัญ เกิดเป็นน้ำตกบางแป แลน้ำตกโตนไทร ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของชาวภูเก็ต เทือกเขากะทู้เป็นแหล่งกำเนิดของคลองบางใหญ่เป็นสายน้ำแห่งชีวิตของคนภูเก็ต พื้นที่ป่าบริเวณนั้นยังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก และจะต้องจัดให้เป็นป่าอนุรักษ์ห้ามมีการบุกรุก และหาแนวทางให้ชาวบ้านในบริเวณนั้นตระหนักถึงคุณค่าของป่าที่เรามี เพื่ออนุรักษ์ซึ่งป่าต้นน้ำของเรา หากมีการทำลายป่าเพิ่มขึ้นเราคงไม่มีน้ำอุปโภคบริโภค อีกต่อไป แม้แต่ปัจจุบันการบริโภคน้ำมีอัตราการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในภาคครัวเรือน และอุตสาหกรรมต่างๆ เราคงจะต้องมีการรณรงค์การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่าและใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่ออนาคตของเราชาวภูเก็ตทุกคน เพราะน้ำคือชีวิต นี้จึงเป็นที่มาของวาระสิ่งแวดล้อม วาระภูเก็ตอีกวาระหนึ่งซึ่งเป็นวาระที่เราจะต้องร่วมกันรับผิดชอบและกำหนดเป็นวาระของเราทุกคน เพื่อคงไว้ซึ่งมรดกทางธรรมชาติเพื่อลูกหลานของเรา


วาระภูเก็ตด้านการท่องเที่ยว

      วาระด้านการท่องเที่ยว เป็นอีกหนึ่งวาระที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต เพราะจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวเรามีรายได้ มากกว่า 7.5 หมื่นล้านบาท  จากการท่องเที่ยวต่อปี และเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่อปี 2549 เป็นต้นมา หรือมากกว่า 1.5 แสนล้านบาท/ปี เราทำรายได้เข้าสู่ประเทศ 1 ใน 4 ของรายได้หลัก นั้นหมายความว่าจังหวัดภูเก็ตเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาภาพรวมของประเทศด้วย นอกเหนือจากการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม หรือเทคโนโลยีแต่วันนี้สิ่งที่จังหวัดภูเก็ตกำลังเผชิญคือการต่อสู้แข่งขันกับคู่แข่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น เกาะบาหลี มาลีเชีย หรือแม้แต่ประเทศ ที่กำลังพัฒนาอย่าง เวียดนาม สิงคโปร์ นั้นหมายความว่าวันข้างหน้ารายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต กำลังจะมีปัญหา นักท่องเที่ยว เริ่มเปลี่ยนความสนใจไปท่องเที่ยวยังประเทศคู่แข่งเพิ่มสูง เกิดอะไรขึ้น หากจะย้อนกลับไปดูถึงปัญหาเราพอจะทราบได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับภูเก็ตบ้าง วันนี้ภูเก็ตเปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลาย สภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง หรือแม้แต่ปัจจัยด้านการท่องเที่ยวอื่นที่ไม่เกื้อหนุน และขาดยุทธศาสตร์ในการผลักดันการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้อย่างเป็นรูปธรรม มาตรารับมือ สึนามิ ยังไม่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวเท่าทีควร
    ฉะนั้นเราจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องประกาศวาระการท่องเที่ยวเที่ยวเป็นวาระเร่งด่วน เป็นวาระภูเก็ตที่เราต้องร่วมมือกันกำหนดยุทธศาสตร ์ และผลักดันภูเก็ตสู่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของโลกต่อไป ผมพอจะแบ่งยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวออกได้ในหลายมิติ

     1. ผลักดันภูเก็ตสู่ศูนย์แหล่งช้อปปิ้งของเอเชีย เราจะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร เราเคยมีการถกเถียงการหลายครั้ง ถึงความเหมาะสมหรือไม่ในการเปิดให้มี กาสิโน ในจังหวัดภูเก็ต บอกด้วยเจตนาและมุมมองของนักลงทุนเลยว่า ไม่มีความเหมาะสมกับจังหวัดภูเก็ตเลย เพราะไม่มีความจำเป็น เนื่องจากจังหวัดภูเก็ต พัฒนามาไกลเกินกว่าจะย้อนกลับไป เราต้องมองอย่างนี้ว่า เรามองเห็นไหมว่า เรามีศูนย์การค้า หรือห้างสรรพสินค้าจำนวนมากที่เปิดให้บริการในภูเก็ต มากกว่า 7 ห้าง และมีห้างสรรพสินค้าจำนวนไม่น้อยกว่า 5 แห่งเปิดให้บริการบนถนนสายเดียวกัน และในอนาคตข้างหน้าในเวลาอย่างน้อย 5-10 ปีจะมีห้างสรรพสินค้าบนถนนสายนี้กว่า 10 แห่งที่จะเปิดให้บริการ
นั้นหมายความว่า ถนนสายนี้จะเป็นถนนสายสำคัญและมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการค้า และแหล่งช้อปปิ้ง
ของเอเชีย เป็นถนนสายเศรษฐกิจอีกเส้นหนึ่งเลยทีเดียว หากวันนี้เรารู้ว่าอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้นกับเราบ้าง เราสามารถที่จะเตรียมความพร้อมในการรองรับการพัฒนาในด้านนั้น ประชาชนมีความเข้าใจ นักลงทุนได้รับการประสานความร่วมมืออย่างดีจากชุมชนและพื้นที่ นักลงทุนเข้าใจกติกาของชุมชนักลงทุนเคารพในสิทธิของชุมชนที่พึงได้

 การมีส่วนร่วมของชุมชนของประชาชนจึงเป็นบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาใดๆก็ตาม ทั้งนี้เราเองคือผู้กำหนดยุทธศาสตร์นั้น นักลงทุนคือผู้มองเห็นถึงแนวทางในการพัฒนา เราจำต้องมีความรอบคอบในการกำหนดกรอบการพัฒนา เพื่อไม่ให้มีการกระทบต่อชุมชน ไม่ให้มีการกระทบต่อวิถีแห่งการดำรงชีวิต เราต้องมองถึงผลในทุกด้าน ทั้งในแง่ดีและแง่ลบ ผมเชื่อว่านักลงทุนที่ดีไม่ได้เพียงเพื่อหวังแค่กำไร แต่หวังไปสู่การพัฒนาโครงสร้างด้านต่างๆ เพื่อให้เกื้อหนุนต่อการพัฒนาในด้านอื่นต่อไป ทั้งในแง่ของธุรกิจ ปัจจัยเกื้อหนุนด้านเศรษฐกิจ ทั้งนี้สิ่งที่ผมพยายามพูดและเรียกร้องมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การเปิดพื้นที่ให้กับชุมชนได้ประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความขัดแย้งกันของค้าปลีกข้ามชาติก็ดี หรือแม้แต่ทุนข้ามชาติ ผมอยากให้เราเป็นพื้นที่แรก ที่ชุมชนประชาชนร่วมกันกำหนดกรอบและยุทธศาสตร์การพัฒนา เพราะเราจะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างเป็นระบบ ชุมชนสามารถกำหนดพื้นที่ว่าส่วนไหน ที่สามารถเปิดให้นักลงทุนเข้ามาพัฒนา หรือลงทุน เราคงต้องเรียนรู้ในธุรกิจมากขึ้น เราคงต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อนักลงทุน เพราะผมเชื่อเสมอว่า เราคือผู้เลือกและคือผู้กำหนด เราเลือกได้ที่จะรับอะไร ไม่เอาอะไร อะไรที่มีความเหมาะสมกับจังหวัดเรา อะไรที่มีความเหมาะสมกับเรา เราเลือกได้ นั้นหมายความว่าชุมชนของเราต้องมีเข้มแข็ง ชุมชนของเราต้องมีส่วนร่วม นั้นคือยุทธศาสตร์ของเรา ผมยังคงยืนหยัดในเรียกร้องเสมอว่า ผมอยากที่จะเห็นทุนข้ามชาติเหล่านั้นหันมาเสียภาษีให้กับชุมชนนั้นๆ เพราะพื้นที่ที่ทุนเหล่านั้นเข้ามาลงทุนยังขาด งบประมาณอีกมากในการแก้ไขปัญหาที่ได้รับจากผลกระทบ ทั้งในเรื่องของการจัดการขยะมูลฝอย ทั้งในเรื่องของการจัดการสภาพแวดล้อม ทั้งในเรื่องของการบริหารจัดการ เรามีความจำเป็นในการต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ผมเชื่อครับว่าในอนาคตข้างหน้าจังหวัดภูเก็ตจะมีการพัฒนาในเกือบทุกด้าน ต้องทำเดี่ยวนี้ครับ เราทุกคนต้องร่วมกัน
กำหนดยุทธศาสตร์ กำหนดวาระภูเก็ตเป็นวาระสำคัญที่จะมีผลต่อการพัฒนาในอนาคต เพราะนี้คือวาระของเราทุกคน

 2. ผลักดันภูเก็ตสู่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางน้ำ ปัจจุบันเราทราบเป็นอย่างดีว่า มีการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวทางน้ำสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนของนักลงทุนในการเปิดมารีน่า ท่าเทียบเรือยอร์ช รอบเกาะภูเก็ต ทั้งให้บริการแล้ว และกำลังก่อสร้างก็ดี เรามองเห็นแนวทางแล้ว เราควรที่จะนำธุรกิจการท่องเที่ยวด้านนี้เป็นอีกมิติหนึ่งที่จะเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต เพราะนั้นหมายความว่า เราจะมีการท่องเที่ยวแบบเต็มรูปแบบ ทั้งทางบก และทางน้ำ คงต้องมีการศึกษาเส้นทางการเดินเรือของนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยเรือยอร์ช หรือนักท่องเที่ยวที่โดยสารด้วยเรือนำเที่ยวขนาดใหญ่ ต้องทำการประชาสัมพันธ์ สถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำให้มากขึ้น มีการสำรวจสถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำใหม่ๆ รวมไปถึงแหล่งพักผ่อน เช่นแหล่งดำน้ำ สถานที่พักตากอากาศ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ หากเราสามารถดึงนักท่องเที่ยวเหล่านี้เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต จะส่งผลดีต่อภาพรวมด้านท่องเที่ยว ภาพรวมด้านเศรษฐกิจกับจังหวดภูเก็ตอย่างแน่นอน

    3. ผลักดันภูเก็ตสู่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาคจังหวัดภูเก็ตสามารถที่จะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาค ได้อย่างแน่นอน เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีความพร้อมในการให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว ในทุกด้าน เรามีความสัมพันธ์และเป็นบ้านพี่น้องเมืองน้องกับหลายประเทศ เราเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของอันดามัน หากเราสามารถผลักดันให้จังหวัดภูเก็ต เป็นประตูสู่ภูมิภาคนี้ เราสามารถที่จะสร้างรายได้อย่าง มหาศาล จากการท่องเที่ยวในทุกรูปแบบ เราต้องผลักดันให้มีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ จะมองเห็นว่าในพื้นที่ใกล้เคียงเช่น จังหวัดพังงา จะเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพราะมีจุดแข็งด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ ส่วนจังหวัดกระบี่จะเป็นการท่องเที่ยวทางน้ำ เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตกับจังหวัดกระบี่มีการเชื่อมโยงในพื้นที่การท่องเที่ยว กันทางน้ำมากกว่า ในส่วนของการเชื่อมโยงของภูมิภาคคงจะเป็นการเชื่อมโยงกันลักษณะการท่องเที่ยวของภูมิภาค และเชื่อมกันทางการบินมากกว่า


วาระภูเก็ตด้านคุณภาพชีวิต

คุณภาพชีวิต นั้นไม่ใช่เพียงว่า ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นหรือชีวิตดีขึ้นเท่านั้น แต่หมายถึงความมั่นคงของชีวิต และความสุขชีวิตวาระภูเก็ตด้านนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดเป็นกรอบที่จะต้องพัฒนาไปสู่คุณภาพชีวิตที่มีความมั่นคง ผมมองไปถึงรากฐานชีวิตของเราทุกคน คงหนีไม่พ้นการศึกษา
นอกเหนือไปจากนี้แล้วคือคุณภาพของสังคม การให้บริการของรัฐ ทั้งในด้านสุขภาพปากท้อง และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินหากจะประกาศวาระภูเก็ตต้องประกาศวาระด้านคุณภาพชีวิต ด้วยเป้นวาระเร่งด่วนจะมองเห็นว่าสภาพความเป็นอยู่ในสังคมเมืองที่มีความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วชุมชนได้รับผลกระทบ ทั้งในเรื่องสภาพแวดล้อม คนว่างงาน และแรงงานต่างด้าวเด็กและผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งกลายเป็นภาระทางสังคม หรือแม้การให้บริการของรัฐที่ไม่สามารถให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึงได้
ทั้งนี้ปัญหาเหล่านี้ปัจจุบัน อปท.ต่างๆได้เข้าไปดูแลและแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น แต่ไม่ได้แก้ไขปัญหาในภาพรวมทั้งในเรื่องของเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ ที่ยังขาดงบประมาณอีกมากและสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนซึ่งยังไม่เพียงพอต่ออัตราการขยายตัวของชุมชนเมือง ที่มีประชากรเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี อัตราคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้นปัญหาอาชญากรรมก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เยาวชนขาดความเอาใจใส่จากครอบครัว และสิ่งยั่วยุของสังคมที่มีมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งในเรื่องยาเสพติด สถานบันเทิง ร้านอินเตอร์เน็ต ปัญหาต่างๆเหล่านี้นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นทำให้สังคมในบ้านเราไม่น่าอยู่ ซึ่งเกิดจากปัญหาสังคมที่ได้รับผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งผมมองว่าการวางรากฐานของชีวิตเป็นปัจจัยสำคัญ ผมเล็งเห็นว่าหากจะประกาศวาระภูเก็ตแล้ว
ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนในจังหวัดภูเก็ตคุณภาพสังคมในจังหวัดภูเก็ตก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
1. การศึกษา สถานศึกษาต่างๆในสังกัดของอปท.จะต้องได้รับงบประมาณสนับสนุนด้านศึกษาอย่างเต็มที่ เด็กยากจนต้องมีทุนเรียน ด้วยการสนับสนุนของ อปท.และกระทรวงศึกษาธิการ อปท.ต้องเพิ่มบุคลากรด้านการศึกษา ลงพื้นที่สำรวจประชากรอย่างต่อเนื่อง และให้การช่วยเหลือสนับสนุนด้านการศึกษา ให้เยาวชนในพื้นที่รับผิดชอบ สถานศึกษาจะมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้การศึกษากับเยาวชน จะเป็นในรูปแบบของวิทยากร หรือลูกจ้างชั่วคราว โดยอปท.ต้องเข้าไปดูแล หรือแม้แต่การแลกเปลี่ยนคณาจารย์ระหว่างสถาบัน สนับสนุนการศึกษาด้านวิชาการจากสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง นักวิชาการจะเข้ามาให้การสนับสนุนและแนะแนวทางการศึกษา ทั้งสำรวจค่านิยม และพฤติกรรมของเยาวชน ควรมีการจัดตั้งสภาเยาวชน ซึ่งให้เยาวชนในแต่ละสถาบัน การศึกษา แต่ละสังกัด แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นสะท้อนปัญหาสู่สังคม เพื่อให้สังคมเข้ารับทราบถึงข้อปัญหาจริง และแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในด้านของนักศึกษา ควรมีการจัดตั้งสภาฯหรือเปิดเวทีความคิดให้กับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาบ่งบอกถึงความต้องการ และแนวทางการศึกษา เพื่อให้ผู้บริหารสามารถปรับเปลี่ยน และพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องต่อความต้องการของนักศึกษา ทั้งในด้านวิชาการและประสบการณ์ตรง ในส่วนของการศึกนอกโรงเรียนหรือ กศน. กระทรวงศึกษาฯ จะต้องมีมาตรฐานการศึกษา และให้การศึกษาแก่เยาวชนที่ขาดโอกาส ทั้งเปิดโอกาสให้กับเยาวชนเข้ารับการศึกษาได้ตามหลักการ พัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาให้มีศักยภาพ สนับสนุนเยาวชนที่มีผลการเรียนดี สนับสนุนเยาวชนที่ขาดโอกาส เพื่อคุณภาพของสังคมของบ้านเรา หากเราสามารถกำหนดยุทธศาสตร์การศึกษาเป็นยุทธศาสตร์แห่งการเริ่มต้นการพัฒนา จะทำให้คุณภาพชีวิตและคุณภาพสังคมบ้านเราจะน่าอยู่และมีความสุข ผมทำงานในฐานะ สมาชิกสภา อบจ.ในสังกัด อปท. ผมได้พยายามผลักดันโครงการด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ที่เห็นได้ชัดเจนเช่น โครงการศูนย์รวมใจ ออสเตรีย-ภูเก็ต ที่เปิดเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ห้องสมุดประชาชน ศูนย์พัฒนาวิชาชีพ และสวนสาธารณะ ซึ่งโครงการเหล่านี้ ผมได้ประสานโครงการผ่านฝ่ายบริหารของ อปท. และอนุมัติดำเนินงานโครงการจนแล้วเสร็จโดยความร่วมมือของมูลนิธิฮิวเวิร์ค ประเทศออสเตรีย ส่งผลให้สภาพแวดล้อมในชุมชนดีขึ ้น ปัญหาเยาวชนติดเกมส์ลดลง มีสถิติการเข้าใช้บริการห้องสมุดของเยาวชนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ทักษะการเรียนของเยาวชนดี ที่คือผลที่ได้รับ นี้จึงเป็นรากฐานทางสังคมโดยแท้จริง ผมเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้เยาวชน ที่เราพยายามฟูมฟักจะสามารถเป็นผู้นำบ้านเมืองและเป็นผู้ร่วมพัฒนาจังหวัดภูเก็ตต่อไป เพราะเด็กในวันนี้เป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า
2. สวัสดิการสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุ จะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่และให้การช่วยโดยองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีงบประมาณในส่วนนี้เพียงพอ เยาวชน ที่ด้อยโอกาสจะต้องผลักดันเข้าสู่ระบบ และจัดให้มีการศึกษาอย่างทั่วถึง และผลักดันเข้าสู่โรงเรียนในสังกัดการดูแลของ อปท. คนว่างงาน ต้องมีการสร้างงานสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ได้รับสวัสดิการครบถ้วน โดยเฉพาะควรจะมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาแรงงาน และวิชาชีพ ทั้งภาครัฐต้องผลักดันแรงงานเข้าสู่ระบบ เพื่อให้เกิดรายได้ ลดปัญหาว่างงาน ในส่วนวิชาชีพชุมชน สินค้าโอท็อป รัฐฯต้องสนับสนุนช่องทางทางการค้าและเปิดตลาดให้กับสินค้าจากชุมชน เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนด้วย นี้จึงถือเป็นวาระภูเก็ตที่เราต้องร่วมกันประกาศอีกวาระหนึ่ง เพื่อคุณภาพชีวิตของเราทุกคน
3. ลดปัญหาอาชญากรรม ปัญหาอาชญากรรมเป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้น จากการเติบโตของเศรษฐกิจและการใช้นโยบายของรัฐที่ผิด ผมเล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น ผมจึงเสนอวาระนี้เป็นวาระเร่งด่วน ในการประชุมสภาสมัยสามัญตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา มีหลายโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางลดปัญหานี้ โครงการตำรวจบ้านเป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหานี้ เพราะเป็นการสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามาดูแลกันเอง เช่นเดียวกันกับ อปพร. อาสาสมัครชุมชน ที่องค์กรต่างๆเข้าให้การสนับสนุน เช่นเดียวกับโครงการศูนย์บริการประชาชนสะพานหิน และศูนย์บริการประชาชนสะพานร่วม นี้เป็นโครงการที่ช่วยลดปัญหาอาชญากรรม ซึ่งในอนาคตอันใกล้ควรมีการติดตั้งกล้อง CCTV ในจุดสำคัญต่างๆเพิ่มขึ้น เพื่อการจัดการปัญหาอย่างเป็นระบบ นี้คือสิ่งที่เราต้องทำในอนาคต


วาระภูเก็ตด้านเศรษฐกิจ

           ผมผ่านการเป็นนักธุรกิจ มีบทบาทด้านเศรษฐกิจมากว่า 10 ในฐานะสมาชิกและคณะกรรมการบริหารหอการค้า จ.ภูเก็ต ผมพยายามทำความเข้าใจถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจในทุกระดับภาค ว่ามียุทธศาสตร์ใดบ้างที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในจังหวัดภูเก็ต อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า
จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่าเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้จังหวัดหนึ่ง เพราะมีการเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับจังหวัดต่างๆและนานาประเทศ แต่ทั้งนี้เศรษฐกิจในระดับฐานล่างยังมีความน่ากังวลอย่างเพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจยิ่งสูงขึ้นเท่าไร ยิ่งมีปัจจัยเกี่ยวเนื่องที่กระทบต่อความเป็นอยู่ของชุมชนของเมืองมากขึ้นเท่านั้น
ทั้งนี้เกิดขึ้นจากความไม่เท่าทันของประชาชน ที่มีต่อนโยบายของรัฐฯที่ถูกนำมาใช้อย่างผิดรูปแบบและยังเป็นการใช้นโยบายเศรษฐกิจ แบบประชานิยมและบริโภคนิยมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับอื่นๆ เพราะเศรษฐกิจฐานล่างเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับอื่นๆต่อไป ทั้งนี้ผมยังมองว่าภูเก็ตจำต้องมีการพัฒนาในรูปแบบเฉพาะ เช่นเขตการปกครองรูปแบบพิเศษ เพื่อใช้การบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของจังหวัดภูเก็ตว่ามีลักษณะเหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกรูปแบบ ผมเชื่อว่าจังหวัดภูเก็ตจะเป็นเมืองท่าเศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคต ต้องขึ้นอยู่กับพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ตเท่านั้นที่จะช่วยกันผลักดันและเป็นผู้ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตในอนาคต ผมพอจะจำแนก
ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจในจังหวัดภูเก็ตที่มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาอย่างโดยด่วนออกได้ 3 ยุทธศาสตร์ใหญ่ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว คงต้องมองย้อนกลับไปถึงเม็ดเงินในแต่ละปีที่มีมากกว่า 7.5 หมื่นล้านบาทก่อนเกิด สึนามิ และหลังเกิดสึนามิ ที่มีมากกว่า 1.5 แสนล้านบาท เราพยายามเรียกร้องถึงความช่วยเหลือและการสนับสนุนด้านต่างๆจากรัฐบาลไม่ว่าจะเป็น
การทำการประชาสัมพันธ์ แหล่งท่องเที่ยวในอันดามันอย่างต่อเนื่อง ระบบเตือนภัยที่มาตรฐานสากล เพื่อความมั่นใจของนักท่องเที่ยว รวมไปถึง เรายังร้องขอการขยายรันเวย์สนามบินเพื่อรองรับเที่ยวบินขนาดใหญ่ และสายบินตรงจากนานาประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวและเพิ่มศักยภาพทางการบิน ให้กับภูมิภาคและเชื่อมโยงการบินในลักษณะรูปแบบต่างๆ กับสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งการขนส่งทางอากาศ และธุรกิจการบิน ในการเรียกร้องนั้นเรายังมองว่า สิ่งที่เราเรียกร้องคือความจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต แต่สิ่งที่ได้ในขณะนี้คือ ความว่างเปล่า และยังไม่มีเสียงตอบรับใดที่จะได้มากกว่าคำว่าไม่มีงบประมาณ เกิดอะไรขึ้นกับจังหวัดภูเก็ต ที่ทำรายได้มากว่า 1.5 แสนล้านบาทให้กับรัฐฯให้กับประเทศในยามที่เราต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุน กลับไม่มีความช่วยเหลือใดที่เป็นรูปธรรม เพราะงบประมาณที่รัฐบาลส่งให้กับจังหวัดภูเก็ตในแต่ละปี 4,000 กว่าล้านบาท 2,000 กว่าล้านบาทเป็นเงินเดือนข้าราชการ เหลือประมาณ 2,000 ล้านบาทไม่มีความเพียงพอต่อการบริหารจัดการ สิ่งที่เราต้องการในวันนี้มากกว่านั้นคือความเข้าใจ และการวางกรอบยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ ให้เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ ทั้งนี้โดยทัศนะคติส่วนตัวมองว่าจังหวัดภูเก็ต มีความจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกรูปแบบ และต้องทำเดี่ยวนี้ พี่น้องประชาชนชาวภูเก็ตจะร่วมกับประกาศวาระภูเก็ตด้วยกัน
2. ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจด้านการลงทุน จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่กลุ่มเป้าหมายต้นๆที่นักลงทุนทุกกลุ่มให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม ธุรกิจนำเที่ยว และภาคธุรกิจบริการจะเห็นได้ว่าปัจจุบันจังหวัดภูเก็ตมีห้างสรรพสินค้า ซูปเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อเปิดให้บริการอยู่ทั่วเกาะภูเก็ต มีห้างขนาดใหญ่มากกว่า 7 แห่งปัญหาสำคัญคือในขณะนี้ ธุรกิจชุมชนไม่สามารถต่อสู่คัดคานกับกำลังทุนขนาดใหญ่ และทุนข้ามชาติได้ ซึ่งปัญหาต่างๆที่กำลังก่อตัวไม่ได้รับความสนใจจากภาครัฐเท่าที ่ควร แต่กลับเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุนมากเกินไป โดยไม่เหลียวแลและให้ความเป็นธรรมต่อชุมชนนั้นๆ ซึ่งนั้นหมายความว่าเศรษฐกิจ ในระดับล่างกำลังถูกทำลายอนาคตอาจจะไม่มีตลาดนัดชุมชน อาจะไม่มีร้านค้าชุมชน เพราะต่างจะทยอยปิดตัวลงเนื่องจากไม่สามารถที่จะต่อสู่ในเชิงธุรกิจกับทุนเหล่านั้น วันนี้ถึงเวลาแล้วที่เราชาวภูเก็ตทุกคนต้องร่วมมือกันเป็นผู้ร่วม กำหนดยุทธศาสตร์และเป็นผู้มีสิทธิอันชอบในการกำหนดอนาคตของเราเอง เราจะต้องร่วมรับผิดชอบและบรรเทาปัญหาเหล่านี้ด้วยกัน ทั้งนี้โดยส่วนตัวมองว่า การขยายตัวของห้างนั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนนั้นๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ทั้งนี้ที่ผ่านมาชุมชนไม่มีบทบาทใดในการเข้าร่วมตัดสินใจ และรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเลย นี้จึงเป็นความปกพร่องของภาครัฐฯ วาระนี้จึงเป็นวาระสำคัญอีกบทหนึ่งที่เราชาวภูเก็ต ต้องร่วมกันกำหนดเพื่อเราทุกคน การลงทุนในอนาคตผมเชื่อว่า ภูเก็ตจะต้องเติบโตมากกว่าในปัจจุบันอย่างแน่นอน ทั้งนี้เรากำลังเปิดบ้านเพื่อต้นรับนักลงทุน
ฉะนั้นแล้วเราต้องมียุทธศาสตร์ไว้รองรับการลงทุนด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมา และเราชาวภูเก็ตเองจำต้องรู้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงนั้น สิ่งหนึ่งที่ผมพยายามเรียกร้องมาโดยตลอดคือโครงการ MICE ศูนย์ประชุมนานาชาติ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์กลางเทคโนโลยีสารสนเทศโครงการต่างๆ เหล่านี้อนาคตจะต้องเกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต แต่สิ่งหนึ่งที่เราจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นคือ อบายมุข บ่อนกาสิโน จะเกิดขึ้นไม่ได้ การกำหนดพื้นที่การลงทุนเราอาจจะกำหนดพื้นไว้ 3 พื้นที่ใหญ่อธิเช่น อำเภอ ถลางเป็นพื้นที่มรดกทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมประเพณี สามารถที่ผลักดันให้มีการพัฒนาเป็นในลักษณะรูปแบบพิเศษอนุญาตให้มีการก่อสร้างโรงแรม มารีน่า สถานที่พักรับรองนักท่องเที่ยวได้ในบางพื้นที่ เพื่อคงไว้ซึ่งมรดกทางธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรมประเพณี และดึงชุมชนเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมกับการพัฒนานั้น อำเภอเมือง จะต้องพัฒนาเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีสารสนเทศและการเชื่อมโยงสื่อสาร ร่วมไปถึงศูนย์กลางทางการค้า และแหล่งช้อปปิ้งของนักท่องเที่ยว และการพัฒนาแหล่งที่อยู่อาศัย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ทั้งนี้เรายังคงต้องมองไปถึงการคมนาคมขนส่ง และการขนส่งมวลชน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมี การยกระดับการขนส่งมวลของเรา
เราคงต้องมองไปถึงรถไฟรางคู่ ที่จะเชื่อมโยงทั้ง 3 อำเภอไม่ว่าจะเป็น AIRPORT LINK , CITY LINK , PATONG LINK หรือแม้แต่ระบบขนส่งมวลชนในระบบอื่น เช่นการทำอุโมงค์ลอดใต้สี่แยกสำคัญๆ หรือแม้แต่ความฝันในเรื่องรถไฟฟ้าใต้ดิน ตรงนี้ต้องยอมรับว่าการขนส่งและคมนาคม เป็นอีกหัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะเกื้อหนุนต่อการพัฒนา และยังเป็นการจัดระบบโครงสร้างของเศรษฐกิจด้วย ทั้งนี้สิ่งที่เราคงต้องมองไปถึงอย่างหนึ่งคือ การขนส่งทางน้ำ เรามีท่าเทียบเรือน้ำลึก แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าทีควร ในอนาคตการขนส่งทางน้ำ จำต้องเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะต้องนำมาผลักดันพัฒนาให้อยู่ในระบบและอยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนา หากเราสามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม เราจะเป็นเมืองที่มีศักยภาพสูงอย่างมากเลยทีเดียว ส่วนในอำเภอกะทู้ เราคงต้องมองถึงแหล่งพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย เช่นป่าตอง กมลา เราคงต้องให้ความสำคัญกับพื้นที่ในส่วนให้มาก และต้องมีแผนงานในการกำหนดพื้นที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เป็นพื้นที่ที่จะต้องผลักดันและพัฒนาให้เป็นที่รับรองนักท่องเที่ยวของโลก เป็นหน้าต่างสู่จังหวัดภูเก็ต หากเราสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ให้เป็นรูปธรรม และชาวภูเก็ตทุกคนร่วมกันกำหนดเชื่อเถิดว่าเราจะไม่ใช่แค่ไขมุกแห่งอันดามันเท่านั้น แต่เราจะเป็นไขมุกของเอเชียได้อย่างแน่นอน
3. ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระดับล่าง ต้องยอมรับเลยว่าเศรษฐกิจในระดับล่างเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจในทุกระดับ เพราะฉะนั้นความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพี่น้องประชาชนคือสิ่งสำคัญ รากฐานของชีวิตคือการศึกษาเรามีความจำเป็นที่จะต้องวางโครงสร้างการศึกษา ของลูกหลานของเราให้เป็นรูปธรรม และไม่เพียงเท่านั้นเรายังต้องเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ให ้ลูกหลานเรา ทั้งประสบการตรงจากคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริง อนาคตภูเก็ตบ้านเราจะมีการพัฒนาในเกือบทุกด้าน เพราะฉะนั้นโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่สำคัญคือรากฐานชีวิตของคนภูเก็ต ต้องได้รับการเอาใจใส่ด้วย
ทั้งนี้ที่ผ่านมาโครงการต่างๆที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบของคนภูเก็ตอย่างมาก เพราะความไม่มีส่วนร่วมของคนภูเก็ต ถูกนักลงทุนเอาเปรียบ แต่ในอนาคตจะต้องกำหนดแนวทางร่วมกัน ชุมชนต้องมีส่วนร่วม ประชาชนต้องร่วมกันตัดสินใจ และร่วมรับผิดชอบต่อสังคมภูเก็ตด้วยกัน เพราะฉะนั้นแล้วการศึกษาคือโครงสร้างสำคัญในการวางฐานการพัฒนา มีความจำเป็นอย่างที่สุดที่จะต้องเปิดโอกาสให้มีการพบปะระหว่างเยาวชน นักเรียน นักศึกษา หรือสมาพันธ์ และนักวิชาการ หารือแลกเปลี่ยนทัศนะคติและความคิดร่วมกัน ชุมชนต้องมีความเข้มแข็ง สถาบันการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการเรียนการสอน ให้สอดคล้องต่อการพัฒนาในอนาคต ซึ่งจะสนับสนุนต่อนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา การกำหนดแผนยุทธศาสตร์จึงมีความสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันกำหนด คนว่างงานต้องได้รับการช่วยเหลือ และจัดหางานให้มีงานเยาวชนหรือนักเรียน นักศึกษา ที่ไม่มีทุนเรียนต่อ รัฐฯต้องให้ความเอาใจใส่ และเปิดช่องทางให้เยาวชนนักเรียนนักศึกษาเหล่านั้นมีช่องทางในการศึกษา หรือแม้แต่ตำแหน่งงานว่างเพื่อรองรับกับแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี หน่วยงานในท้องถิ่น อปท. รัฐฯต้องเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ เพิ่มอำนาจในการตัดสินใจ เพิ่มงบประมาณ และผู้บริหารที่พี่น้องประชาชนมอบความไว้วางใจต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์(vision) สามารถขับเคลื่อนนโยบายซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ ที่ชุมชนและชาวภูเก็ตคือผู้กำหนด เพราะนี้เป็นวาระภูเก็ต เป็นวาระของเราทุกคน